เมนู

มีเนื้อความเท่ากับ มยา เช่นในประโยคมีอาทิว่า คาถาภิคีตํ เม
อโภชเนยฺยํ
โภชนะที่ได้มาด้วยการขับกล่อม เราไม่ควรบริโภค.
มีเนื้อความเท่ากับ มยฺหํ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สาธุ เม ภนฺเต
ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระ-
องค์เถิด.
มีเนื้อความเท่ากับ มม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ธมฺมทายาทา เม
ภิกฺขเว ภวถ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของ
เรา.
แต่ในพระสูตรนี้ เม ศัพท์ ควรใช้ในอรรถ 2 อย่าง คือ มยา
สุตํ
ข้าพเจ้าได้สดับมา และ มม สุตํ การสดับของข้าพเจ้า.

แก้อรรถบทว่า สุตํ


สุต

ศัพท์นี้ มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรค จำแนกเนื้อความได้
หลายอย่าง เช่นเนื้อความว่าไป ว่าปรากฏ ว่ากำหนัด ว่าสั่งสม ว่าขวนขวาย
ว่าสัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต และว่ารู้ตามโสตทวาร เป็นต้น.
จริงอย่างนั้น สุต ศัพท์นี้ มีเนื้อความว่าไป เช่นในประโยคมี
อาทิว่า เสนาย ปสุโต เสนาเคลื่อนไป มีเนื้อความว่าเดินทัพ.
มีเนื้อความว่าปรากฏ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุตธมฺมสฺส
ปสฺสโต
ผู้มีธรรมอันปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ มีเนื้อความว่า ผู้มีธรรม
ปรากฏแล้ว.
มีเนื้อความว่ากำหนัด เช่นในประโยคมีอาทิว่า อวสฺสุตา
อวสฺสุตสฺส
ภิกษุณีมีความกำหนัดยินดีการที่ชายผู้มีความกำหนัดมาลูบ